ทดสอบกลางภาคเรียน
1.กฎหมายคืออะไร
จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมาย หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ
หมายถึง ประชาชนทุกคนจะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
อันเป็นการปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของบุคคลไม่ว่าเขาจะเป็นใคร
ไม่ว่าเขาจะยากจนหรือร่ำรวยไม่ว่าเขาจะมีการศึกษาสูงหรือต่ำ
โดยที่ไม่มีผู้ใดจะได้รับอภิสิทธิ์ในการปฏิบัติตามกฎหมายเหนือผู้ใด เช่น
คนจนกับคนรวยต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน เป็นต้น ความเสมอภาคตามกฎหมาย
จัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ตอบ เห็นด้วย การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน
จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ เพราะอาชีพที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นอาชีพที่เป็นผู้นำ
ซึ่งเป็นผู้ที่จะมอบความรู้ให้แก่ประชาชน
ดังนั้นใบประกอบวิชาชีพจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญที่บ่งบอกว่าเราเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำและสร้างความเชื่อถือให้กับผู้คน
หรือประชาชน
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ ในการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
สถานศึกษาควรมีการดำเนินการในขอบข่ายต่อไปนี้
1.
ด้านทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาสถานศึกษา
1.1 สถานศึกษาควรมีการวางแผน
รณรงค์ ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาการศึกษา
1.2 จัดทำข้อมูลสารสนเทศ
และระบบการรับจ่ายทุนการศึกษา
ทุนพัฒนาสถานศึกษาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
1.3 จัดทำรายงาน สรุปผลงาน
เพื่อเป็นการเผยแพร่เชิดชูเกียรติคุณผู้สนับสนุนทุนการศึกษา
กรณีที่มีการบริจาคสนับสนุนในเกณฑ์ที่ราชการกำหนดให้สิ่งตอบแทนต่าง ๆ
ควรดำเนินการให้ เช่น การตอบขอบใจหรืออนุโมทนา
การขอเครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการ ฯลฯ
1.4 จัดการด้านการเงินการบัญชี
ให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้บริจาค
การลงรายการในเอกสารต่าง ๆ การควบคุมการใช้จ่ายเงิน
2.
ด้านกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและทุนการศึกษาของราชการ
2.1 สถานศึกษาสำรวจความต้องการและคัดเลือกตามหลักเกณฑ์กำหนด
2.2 ประสานงานการกู้ยืมเพื่อการศึกษา
หรือ ทุนการศึกษาราชการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น
ทุนพระราชานุเคราะห์ ทุนเสมาพัฒนาชีวิต
2.3
จัดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลการใช้จ่ายเงินทุนของนักเรียน
สร้างความตระหนักแก่ผู้ยืมเงิน ให้ใช้ในประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างแท้จริง
2.4 ติดตาม
ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เงินกองทุน
3.
ด้านการจัดการทรัพยากร
3.1
สำรวจและจัดทำข้อมูลทรัพยากรเพื่อการศึกษา
• ข้อมูลบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา
•
ข้อมูลแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาและชุมชน
• ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี
• ข้อมูลบุคลากรหลักที่ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันในการจัดการศึกษา
3.3 ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลและหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
4.
การส่งเสริมการบริหาร การจัดการรายได้และผลประโยชน์ในรูปแบบที่หลากหลาย
4.1 ศึกษาระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการใช้อาคารสถานที่ของสถานศึกษา พ.ศ. 2526
จะเห็นว่าสถานศึกษาสามารถเก็บเงินค่าบำรุงสถานที่ได้หลายกรณี
และให้นำเงินที่ได้รับเป็นเงินบำรุงการศึกษาของสถานศึกษาได้ เป็นต้น
4.2
วางแผนการจัดการรายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ
• การให้บริการด้านต่าง ๆ
แก่ชุมชน หน่วยงาน
• การขอรับบริจาค การสนับสนุนงบประมาณ
• การจำหน่ายผลิตผลต่าง ๆ ของสถานศึกษา
• การจัดตั้งกองทุน
• การระดมทุน
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย
ประการที่สอง
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
1.
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย
ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา
หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่า ปริญญา
และปริญญา
ตอบ บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และเรื่องการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดไว้ใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติว่า “ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมี
อายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้
ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ…”
ตอบการแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
และมีหัวหน้าส่วนราชการดังนี้
1.สำนักงานปลัดกระทรวง
2.ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
มีดังนี้
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวง
- สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ
จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม
จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงข้นและสืบทอดประวัติศาสตร์และ
เจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
กระทำผิดตาม พ.ร.บ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ ไม่ได้กระทำผิด เพราะในมาตราที่ 53 ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากร
ทางการศึกษา พ.ศ.2546 ได้มีข้อยกเว้นไว้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ตอบ การกระทำผิดแบบแผนความประพฤติที่กำหนด เช่น การปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่ตรงต่อเวลา ประพฤติเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่ผู้เรียน และอื่นๆฯลฯ โทษทางวินัยมี 5 สถาน
คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า
เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก
พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เพราะเด็กดังกล่าวไม่สามารถที่จะเอาตัวรอดได้หรือง่ายต่อการเอาเปรียบ
จึงได้สร้างพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กไว้เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น