กิจกรรมที่ 3
1.ท่านคิดอย่างไร
ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ
กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน
2.ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง
จงอธิบาย
มาตรา 6 ของกฎหมายระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ข้อความข้างต้นกล่าวว่า
การจัดการศึกษาก็เพราะว่าต้องการให้ประชาชนชาวไทยมีความสมบูรณ์แบบ
ทั้งในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม
เพราะถ้ามีครบทุกด้านแล้วเราก็สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้โดยไม่ต้องถูกดูหมิ่น
และสามารถเอาความรู้นั้นไปพัฒนาด้านต่างๆให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
1. ทางกาย คือมีสุขภาพดี สมบูรณ์ แข็งแรง
หมายความว่าการจัดการศึกษาต้องครอบคลุมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัย
เช่น ส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่งเสริมกีฬา ส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่เอื้อต่อสุขลักษณะ
ปลอดจากภาวะมลพิษ ปลอดจากยาเสพย์ติด
และปลอดจากภัยทั้งหลายที่อาจกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของผู้เรียน
ไม่ว่าจะเป็นภัยจากมนุษย์ (อุบัติเหตุ การประทุษร้าย) หรือธรรมชาติ (น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุ
โรคภัยไข้เจ็บ) นอกเหนือจากหน้าที่ในการส่งเสริมสุขอนามัยแล้ว
ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาต้องคาดการณ์และเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าเพื่อผ่อนคลายหรือแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์
2. ทางจิตใจ คือมีจิตใจที่อดทนเข้มแข็ง
สามารถเผชิญกับปัญหาหลากหลายที่เกิดได้อย่างมีสติ มีความรับผิดชอบ
มีระเบียบวินัยในตัวเอง สามารถอดทนอดกลั้นต่อแรงกดดันต่างๆ
3. ทางสติปัญญา คือการใช้ความคิดและเหตุผล
4. ความรู้ คือการมุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของสังคมปัจจุบัน ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
ความรู้และทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล
ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย
การประยุกต์ภูมิปัญญาไทย
ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
5. คุณธรรมและจริยธรรม แสดงออกในรูปของพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความละอายต่อการประพฤติตนในทางเสื่อมเสียหรือก่อให้เกิดผลเสียหายต่อผู้อื่นและสังคม
6. มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต รักวัฒนธรรมไทย
มีเอกลักษณ์ไทย มีมรรยาทและการวางตนในสังคม รู้จักประมาณตนเอง
7. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ผู้ได้รับการศึกษาจะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ประนีประนอม มีความเมตตากรุณา
มีสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น และดำเนินบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม
3.หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ได้กำหนดหลักการศึกษาไว้
และใช้หลักการดังกล่าวเป็นตัวกำหนดสาระเนื้อหาของกฎหมายว่าด้วยการศึกษา
หลักสำคัญในการจัดการศึกษา (ตามมาตรา 8)
กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง
ดังนี้
1. การศึกษาตลอดชีวิต ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการคือคนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิตการงานเท่านั้น
เพราะไม่เพียงบุคคลต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพของตน
คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนและประเทศโดยส่วนรวม
ทั้งด้านเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมด้วย
ทั้งนี้ เพราะสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
จึงจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปรอบตัวเพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
2. การมีส่วนร่วม
สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมนั้นแสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น
ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน
ส่งเสริมให้กำลังใจและปกป้องผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม
หลักการนี้ถือว่าอนาคตของประเทศและความจำเริญรุ่งเรืองของสังคมไทย
เป็นความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนมิใช่ถูกจำกัดโดยตรงในการจัดการศึกษา
ดังนั้นจึงเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์
เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการจัดการศึกษา
ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและช่วยดูแลการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
3. การพัฒนาต่อเนื่อง การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาให้ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง
ดังนั้น
การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การพัฒนานี้มีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ
การประยุกต์ปรับปรุงเนื้อหาสาระที่มีอยู่
และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา
ต้องถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญ ในการปรับปรุงตนเองให้ทันโลก และทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม
เพื่อประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การรับความรู้มาถ่ายทอดโดยปราศจากดุลยพินิจอาจก่อความเสียหายโดยไม่คาดคิด
จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะช่วยกันดูแลให้ความรู้ใหม่ๆ
เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและสังคมอย่างแท้จริง
4. หลักในการจัดระบบ
โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1.มีเอกภาพด้านนโยบาย
และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2.มีการกระจายอ
านาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3.มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
4.มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒนาครู คณาจารย์
และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5.ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ
มาใช้ในการจัดการศึกษา
6.การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
5.
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
มาตรา 10 การจัดการศึกษา
ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน
ในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
กาจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม
การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้
หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส
ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง
ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ
และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ
ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
ในวรรคแรกเขียนตามมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญ แต่เติมคำว่า "โอกาส" ไว้ด้วย
ซึ่งเกินรัฐธรรมนูญ เพราะโอกาสจะให้มากกว่าสิทธิแต่ในมาตรานี้คำว่า
"โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย" ก็ยังไม่ได้รับการตีความว่าหมายความว่าอย่างไร
จะต้องไปให้คำจำกัดความต่อไปในขั้นปฏิบัติ วรรคที่สอง
อาจมีความคลุมเครือในประเด็นความบกพร่องทางสังคมแต่ถ้าสามารถอธิบายได้ว่าความบกพร่องทางสังคม
เช่น เกิดมาในชุมชนที่ยากจน เป็นต้น ส่วนที่
"บุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล"
ก็คือผู้ที่ขาดพ่อแม่ผู้ปกครองนั่นเอง ประเด็นที่ถกเถียงกันก็คือคำ
"แรกเกิด" กับ "แรกพบ" คำหลังอาจจะชัดเจนกว่า
"แรกเกิด" อาจจะทำให้ทราบยากว่าใครทุพพลภาพ (ทางจิตใจ) หรือสติปัญญา
จนกว่าจะมาค้นพบภายหลังแต่การตีความกฎหมายคงต้องดูเจตนา
ผู้เขียนคงต้องการเขียนให้ครอบคลุมทั้ง 2 สถานการณ์คือ
แรกเกิดในกรณีที่ทุพพลภาพทางร่างกาย "แรกพบ"
ในกรณีที่ทุพพลภาพในด้านจิตใจสติปัญญา วรรคที่สามของมาตรานี้ ก็มีความสำคัญเช่นกัน
เพราะหมายถึงเด็กที่มีสติปัญญาเลิศหรือมีความสมารถเป็นพิเศษก็จะต้องส่งเสริมเป็นพิเศษ
มาตรา 11 บิดา
มารดาหรือผู้ปกครองที่มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตา
มาตรา17 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ
ตามความพร้อมของครอบครัว
มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน
ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา
12 นี้
คือหลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
และสอดคล้องกับแนวทางของยูเนสโกที่ประเทศว่า "ทุกคนเพื่อการศึกษา"
และนำมากำหนดไว้ในหลักการที่ 2 ในมาตรา 8ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมนี้
ยังได้กำหนดการสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ตามมาตรา 13 และ 14 ดังต่อไปนี้
มาตรา 13 บิดา มารดา
หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้
1. การสนับสนุนจากรัฐ
ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
2.
เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
3.
การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน
องค์กรชุมชน องค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่นซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
1.การสนับสนุนจากรัฐให้ความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
2
.เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
3.การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
ในมาตรา 14 วรรคหนึ่งนี้ เติมคำว่า "ตามควรแก่กรณี"
นั้นเพื่อแยกแยะในประเด็นที่ว่า หากผู้ใดมีส่วนจัดการศึกษาก็อาจจะได้รับสิทธิประโยชน์ทั้ง
3 ข้อได้
6.
ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันมักจะเรียกย่อๆ ว่า ระบบ 6-3-3 หมายความว่ามีการจัดระบบ
การศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับ ชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น)และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน ส่วนการศึกษาตามอัธยาศัย (การเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือตามอัธยาศัย) ยังไม่ได้นำมาพิจารณาอย่างจริงจัง
ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning" ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ
ประการที่สอง ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และปริญญาส่วนประเภทการศึกษานั้นยังคงเปิดกว้างไว้ เช่น อาชีวศึกษา เป็นต้น
สำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ และการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education) ให้ถือว่าเป็น
ส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับ ชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น)และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
นอกจากนั้นระบบการศึกษาไทยยังจัดเป็นระบบการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน ส่วนการศึกษาตามอัธยาศัย (การเรียนรู้ตามธรรมชาติหรือตามอัธยาศัย) ยังไม่ได้นำมาพิจารณาอย่างจริงจัง
ในการจัดระบบการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะไม่พิจารณาแบ่งแยกการศึกษาในระบบโรงเรียนออกจากการศึกษานอกระบบโรงเรียน แต่จะถือว่าการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นเพียงวิธีการเรียนการสอน หรือรูปแบบของการเรียนการสอนที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Modes of learning" ฉะนั้น แนวทางใหม่คือสถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ
ประการที่สอง ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จะแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องจัดอย่าง 12 ปี ซึ่งรวมถึงการศึกษาปฐมวัย ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
2. ระดับการศึกษาอุดมศึกษา หรือหลังการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจะแบ่งออกเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และปริญญาส่วนประเภทการศึกษานั้นยังคงเปิดกว้างไว้ เช่น อาชีวศึกษา เป็นต้น
สำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ และการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Education) ให้ถือว่าเป็น
ส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาตลอดชีวิต
7.
ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา
ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2.
ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์
และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3.
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้
คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4.
จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5.
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม
สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6.
จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย
เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ และมาตราที่ 24 กล่าวถึง
กระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องดำเนินการแนวทาง 6 ประการ
หรือเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์และลักษณะของวิชา
8.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3
มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
มาตรา 37
การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา
โดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา
จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
ในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
การกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด
ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้น เป็นสำคัญ ทั้งนี้
ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ด้วยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา
สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
9.
การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่
เพราะเหตุใด
เห็นด้วยเพราะ การดำเนินในรูปของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวางแผน
กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการจัดการการศึกษา
โดยการกระจายอำนาจตามรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการกระจายอำนาจและความรับผิดชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาไปยังบุคลากรที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายงาน
โดยให้ผู้รับผิดชอบมีอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้งฝ่ายงานบริหารวิชาการ ฝ่ายงานบริหาร
งบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคล ฝ่ายงานบริหารทั่วไป
10.
การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด
ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
เห็นด้วยเพราะ
การจัดการศึกษาจะได้เป็นไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพคนในท้องถิ่นให้มีคุณลักษณะที่สามารถบูรณาการวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของสังคมและประเทศชาติตามหลักแห่งการปกครองตนเอง
ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
ต้องกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด
ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม
11.
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ข้อ 3
ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ข้อ 4 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ (1)
กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (2) กำกับ ติดตาม
และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
(3) เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวน
และรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ข้อ 5
ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในสถานศึกษาข้อ 6
ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา
ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ 7
ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้ (1)
เป็นแผนที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความจำเป็นอย่างเป็นระบบ
และมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ (2) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย
และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม (3)
กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา หรือผลการวิจัย
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร
และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ (4)
กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ (5)
กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ (6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางให้บิดา มารดา
ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 8 ให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ
ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ข้อ 9
ให้คณะบุคคลตาม ข้อ 4 (3) ดำเนินการตรวจสอบ ทบทวน
และรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม โดยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาข้อ 10
ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน ข้อ 11
ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
พร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 10 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน ข้อ 12
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุน
และร่วมดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้ (1)
จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ (2) จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้
และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปีหรือเป็นรายภาค (3)
จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก
และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน ข้อ 13
ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบ
และทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบข้อ 14 ให้หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา
วิเคราะห์ วิจัย
และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม
ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาข้อ 15
ในวาระเริ่มแรก ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ให้บรรดาอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอำนาจของหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด
12.
การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้นเป็นหลักประกันว่าคนๆนั้นพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคน
ให้มีศักยภาพที่ดี พร้อมทั้งยังเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้สูงขึ้น
ตามที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กำหนดวิชาชีพครู
ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา เป็นวิชาชีพควบคุม
ผุ้ประกอบวิชาชีพควบคุม ที่จัดการศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย
การศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาที่ตำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชนจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพจากคุรุสภา
จึงจะมีสิทธิประกอบวิชาชีพได้
13.
ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
1 สถานศึกษาควรมีการวางแผน รณรงค์
ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาการศึกษา
2 จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และระบบการรับจ่ายทุนการศึกษา
ทุนพัฒนาสถานศึกษาให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
3 จัดทำรายงาน สรุปผลงาน
เพื่อเป็นการเผยแพร่เชิดชูเกียรติคุณผู้สนับสนุนทุนการศึกษา
กรณีที่มีการบริจาคสนับสนุนในเกณฑ์ที่ราชการกำหนดให้สิ่งตอบแทนต่าง ๆ
ควรดำเนินการให้ เช่น การตอบขอบใจหรืออนุโมทนา
การขอเครื่องหมายตอบแทนผู้ช่วยเหลือราชการ ฯลฯ
4 จัดการด้านการเงินการบัญชี ให้เป็นไปตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้บริจาค
การลงรายการในเอกสารต่าง ๆ การควบคุมการใช้จ่ายเงิน
รวมทั้งการวางแผนการจัดการรายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ
- การให้บริการด้านต่าง ๆ แก่ชุมชน หน่วยงาน
- การขอรับบริจาค การสนับสนุนงบประมาณ
- การจำหน่ายผลิตผลต่าง ๆ ของสถานศึกษา
- การจัดตั้งกองทุน
- การระดมทุน
14.
ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยีซึ่งน้อยมากที่ผู้คนไม่รู้จักเครื่องเทคโนโลยีพื้นฐานอย่างเช่น
คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม
อินเตอร์เน็ตและอื่นๆซึ่งสำหรับการที่จะนำเทคโนโลยีมาพัฒนาสื่อก็ทำได้ ได้แก่
การเรียนการสอนผ่านดาวเทียม การค้นหาข้อมูลเพื่อเรียนด้วยตัวเองผ่านอินเตอร์เน็ต
การใช้เทคโนโลยีในการเข้ามามีส่วนช่วยให้ข้อมูล เรื่องที่น่าสนใจ และบทเรียน เช่นCAI รวมทั้ง tablet ที่ทางรัฐบาลมีโครงการให้นักเรียนใช้
tablet แทนหนังสือเรียน เราก็อาจเรียนโดยไม่ต้องใช้หนังสือ
ซึ่งประหยัดได้ทั้งเวลา และมีความสะดวกสบายในการศึกษามากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น