สอบปลายภาค
1.ความหมายคำว่า
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ
ตอบ กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชน
(เน้นที่เนื้อหาสาระของกฎหมาย ครอบคลุมไปถึงรูปแบบของรัฐ,องค์กรที่ใช้อำนาจ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพ)
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้
บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ
เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ
ก่อนประกาศใช้บังคับ
พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด
เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ
พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา คือ
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย
และพระราชกำหนด
เทศบัญญัติ
คือกฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น ๆ
และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตน
และสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้ เช่น เทศบัญญัติ กทม.
เรื่องการรักษาความสะอาด เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการการควบคุมการก่อสร้างอาคาร
2.กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ
ปัจจุบันเป็นอย่างไร
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
เป็นอย่างไร
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ
บริหารและตุลาการ ปัจจุบัน ประเทศไทยใช้ระบบสองสภา(ระบบสองสภา (อังกฤษ: bicameralism -bi + Latin camera หรือ chamber) เป็นระบบการปกครองที่มีองค์นิติบัญญัติสององค์หรือมีรัฐสภาสองสภา ดังนั้น
ระบบสองสภา หรือ สององค์นิติบัญญัติจึงประกอบด้วย 2 องค์ประชุมคือสภาสูงและสภาล่าง
ระบบสองสภานับเป็นหัวใจสำคัญของรูปแบบคลาสสิกของรัฐบาลผสม
องค์นิติบัญญัติแบบสองสภาจึงจำเป็นต้องมีเสียงข้างมากในการผ่านกฎหมาย)
แตกต่างจากในอดีตที่ใช้ระบบสภาเดี่ยว
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป
เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
1) หลักความพอสมควรแก่เหตุ
ในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพบุคคลนั้น รัฐธรรมนูญเรียกร้องให้ “กระทำได้เท่าที่จำเป็น “การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติหลักในเรื่องความจำเป็นไว้นี้แสดงให้เห็นถึงร่องรอยของหลักนิติรัฐและการยอมรับหลักพอสมควรแก่เหตุซึ่งเป็นหลักการย่อยของหลักนิติรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญ
หลักความพอสมควรแก่เหตุเป็นหลักที่มีขึ้นเพื่อจำกัดการใช้อำนาจรัฐไม่ให้เป็นไปโดยอำเภอใจ
ถือเป็นหลักธรรมนูญทั่วไปที่มีค่าบังคับเท่ากันกับบทบัญญัติอื่นแห่งรัฐธรรมนูญ
องค์กรนิติบัญญัติแม้ว่าโดยสภาพไม่ใช่เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจปกครองล่วงล้ำสิทธิและเสรีภาพของประชาชนโดยตรง
แต่องค์กรนิติบัญญัติก็อาจใช้อำนาจรัฐตรากฎหมายซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้เช่นกัน4 ด้วนเหตุดังกล่าว
เมื่อองค์กรนิติบัญญัติจะตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
กฎหมายนั้นจึงต้องสอดคล้องกับหลักความสมควรแก่เหตุ
2) หลักการคุ้มครองสารัตถะแห่งสิทธิและเสรีภาพ
ในการตรากฎหมายที่มีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้นองค์กรนิติบัญญัติไม่อาจตรากฎหมายให้กระทบกระเทือนแก่นหรือสารัตถะของสิทธิและเสรีภาพได้
บทบัญญัติในส่วนนี้ไม่ใช่เป็นการประกาศเจตจำนงที่ไร้สาระหรือฟุ่มเฟือย
แต่เป็นบทบัญญัติที่เรียกร้ององค์กรนิติบัญญัติให้ต้องปฏิบัติและมีค่าบังคับในทางรัฐธรรมนูญ
กฎหมายใดที่ตราขึ้นกระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิ
กฎหมายนั้นย่อมขัดต่อธรรมนูญ ใช้บังคับมิได้ ปัญหาที่จะต้องพิจารณาก็คือ
การคุ้มครองสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพเป็นการคุ้มครองโดยเด็ดขาดหรือไม่
และอย่างไรเรียกว่ากระทบกระเทือนต่อสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ
3) หลักการมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปของกฎหมายและหลักการห้ามตรากฎหมายใช้บังคับเฉพาะกรณีและเฉพาะบุคคล
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 29 วรรค 2
เรียกร้องกรนิติบัญญัติในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลว่าจะต้องตรากฎหมายให้มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะเจาะจง
บทบัญญัติมาตรานี้มีด้วยเหตุผลอย่างน้อย 2 ประการ ประการแรก
เหตุผลในเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และประการที่สอง
เหตุผลในการป้องกันมิให้เกิดเอกสิทธิ์และการเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ
หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร
ถ้าประเทศไทยเราไม่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
จะเกิดอะไรขึ้นนั้น หลักๆฉันคิดว่า ปัญหาการอาชญากรรมก็คือ การทำผิด
โดยทำให้เกิดความเดือดร้อน เสียหาย ต่อ ทรัพย์สิน หรือ บุคคล ตัวอย่าง เช่น
การฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ข่มขืน
ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปกำหนดบทลงโทษของผู้ก่ออาชญากรรมแล้วแต่ก็เอาไม่อยู่
เพราะผู้ก่อการอาชญากรรมไม่มีความเกรงกลัวต่อกฎหมายเลย
ยิ่งถ้าไม่มีกฎหมายบ้านเมืองสะเทือนแน่
สองปัญหาการคอรัปชั่น
เป็นปัญหาเรื้อรังที่รุนแรงที่สุดของประเทศ แล้วบ้านเมืองของเราจะเจริญและมีคุณภาพได้อย่างไร
3.ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา
112
มีนักวิชาการต้องการจะแก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
ตอบ ฉันคิดว่าไม่ควรที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112
เพราะประเทศไทยเรามีได้ก็เพราะ พระมหากษัตริย์
ประเทศไทยเรามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้นดีมากแล้ว การที่เราจะมาแก้รัฐธรรมนูญ
มาตรา 112 – ผู้ใดหมิ่นประมาท
ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ
ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
นั้นเป็นการที่ไม่ให้เกียรติผู้ทรงมีพระคุณ ของประเทศชาติ
ซึ่งฉันไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4.กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษาขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่งมองปัญหานี้อย่างไร
และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดินแดน
ตอบ จากที่เกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากษาขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนนั้น ฉันคิดว่าเราควรพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นว่ามันจำเป็นที่เราต้องสูญเสียกำแพงของประเทศหลายๆคนก็ด้วยเพราะเรื่องที่เกิดขึ้น
อีกอย่างเราต้องมาสูญเสียเพื่อนบ้านเพราะความแก่งแย่ง ไม่ได้ส่งผลแค่ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเท่านั้น
แต่ยังส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความคลั่งชาติของกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยที่ปรากฏให้เห็นในสาธารณะ
นั้นรุนแรง และขาดสติ
ข้อเสนอที่น่ากังวลมากคือการที่ผู้นำกลุ่มพันธมิตรเสนอให้มีการบุกเข้าไปยึด
พื้นที่ในกัมพูชาจนกว่าจะมีการคืนปราสาทเขาพระวิหารให้กับประเทศไทย
ราวกับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวร้าว บ้าคลั่ง และรุกราน
แนวทางที่ดีเราควรที่จะเจรจาและใช้เหตุผลที่ยุติธรรมและถูกต้องในการตัดสินเพื่อเป็นสิ่งที่ระหว่างทั้งสองประเทศ
5.พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา
ท่านเห็นด้วยกับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
ตอบ เห็นด้วย กับ “ พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ” เพราะในรัฐธรรมนูญก็ได้มีสาระสำคัญของการศึกษาเขียนไว้
และพระราชบัญญัติการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่างขึ้นมาโดยใช้รัฐธรรมนูญการศึกษา
เป็นหัวใจสำคัญและเป็นแนวทางในการร่างและเขียนพระราชบัญญัติการศึกษา ขึ้นมา
เพื่อนำมาประกาศใช้และใช้เพื่อพัฒนาคนไทยทุกคนให้มีการศึกษาทุกคนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง
ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาศักยภาพคนไทย
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ขอให้นักศึกษาให้ความหมาย การศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษา
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน
การประกันคุณภาพภายนอก ผู้สอน ครู
คณาจารย์ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
ตอบการศึกษา หมายถึง เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง
การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต หมายถึง
การศึกษาตลอดชีวิต เป็นกระบวนการศึกษาที่มีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคล
ในรูปแบบของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย
เพื่อมุ่งให้บุคคลได้พัฒนาตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อเนื่องไปให้เต็มศักยภาพ
โดยบุคคลนั้นจะต้องมีแรงจูงใจที่จะศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การศึกษาในระบบ หมายถึง การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
การศึกษานอกระบบ หมายถึงการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ
ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์
จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ
ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร
มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้
ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ
อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน
สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
สถานศึกษา หมายความว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานการศึกษา หมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ
คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล
และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน
โดยบุคลากรของสถานศึกษา
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก
โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง
เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
ผู้สอน หมายถึง
ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
ครู หมายความว่า
บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ
ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์ หมายถึง บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านดารสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า
บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า
บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน
และอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า
บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา
ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
7.ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
การจัดการศึกษา อย่างไร
ตอบ มาตรา 6 ของกฎหมายระบุว่า “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
ข้อความข้างต้นกล่าวว่า
การจัดการศึกษาก็เพราะว่าต้องการให้ประชาชนชาวไทยมีความสมบูรณ์แบบ ทั้งในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม
เพราะถ้ามีครบทุกด้านแล้วเราก็สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้โดยไม่ต้องถูกดูหมิ่น
และสามารถเอาความรู้นั้นไปพัฒนาด้านต่างๆให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
1. ทางกาย
คือมีสุขภาพดี สมบูรณ์ แข็งแรง
2. ทางจิตใจ คือมีจิตใจที่อดทนเข้มแข็ง
สามารถเผชิญกับปัญหาหลากหลายที่เกิดได้อย่างมีสติ มีความรับผิดชอบ
มีระเบียบวินัยในตัวเอง สามารถอดทนอดกลั้นต่อแรงกดดันต่างๆ
3. ทางสติปัญญา คือการใช้ความคิดและเหตุผล
4. ความรู้
คือการมุ่งให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพความต้องการของสังคมปัจจุบัน
5. คุณธรรมและจริยธรรม แสดงออกในรูปของพฤติกรรมที่พึงประสงค์ รักชาติ
ศาสนา พระมหากษัตริย์
มีความละอายต่อการประพฤติตนในทางเสื่อมเสียหรือก่อให้เกิดผลเสียหายต่อผู้อื่นและสังคม
6. มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต รักวัฒนธรรมไทย
มีเอกลักษณ์ไทย มีมรรยาทและการวางตนในสังคม รู้จักประมาณตนเอง
7. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ผู้ได้รับการศึกษาจะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น ประนีประนอม มีความเมตตากรุณา
มีสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น และดำเนินบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม
การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
(2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3)
การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
8.มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็นประจำกรณีมิได้รับการบรรจุเป็นครู
หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิด กฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะ
มีวิธีการทำอย่างไร
ตอบไม่ผิด เพราะ ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา
พ.ศ.2546 ได้กำหนดไว้ว่า
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน
นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์
และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์
ผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ซึ่งผู้ที่เข้าไปสอนอาจจะกระทำในกรณีใดกรณีหนึ่งซึ่งถูกต้องตามกฏหมาย
ซึ่งก็ไม่ต้องแก้ไขอะไร แต่หากว่าอยากจะเข้าไปสอนในสถานศึกษาเป็นกรณีประจำก็ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง
9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
พ.ศ. 2547 และ
2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
พ.ศ. 2547 และ
2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช
10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้
นักศึกษาได้อะไรบ้าง
ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น
และถ้าจะให้น้ำหนักวิชานี้ ควรให้เกรดอะไร
และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
ตอบ
วิชานี้เป็นวิชาที่ไม่ใช่แค่ใช้ความเข้าใจอย่างเดียวแต่จะต้องใช้ความจำด้วย
ซึ่งคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวเอง
ถ้าขยันอ่านหนังสือก็จะได้ความรู้ที่มีประโยชน์มากแต่ถ้าไม่อ่านก็จะไม่ได้อะไรเลย
เรียนวิชานี้แน่อยู่แล้วคือจะได้ความรู้เกี่ยวกับกฎ บทลงโทษ และสิ่งต่างๆ
ที่ยังไม่เคยรู้และมองข้ามมาก่อน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
และวิธีการสอนโดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog ฉันคิดว่าเป็นวิธีการสอนที่เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบัน
โดยใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลา และทรัพยากร และยังช่วยให้สำหรับคนที่ชอบลืม
คือถ้าลืมหนังสือเราก็สามารถที่จะเปิดบล็อกอ่าน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ได้
ทั้งนี้และทั้งนั้นมันก็มีข้อเสียบ้าง คือ การที่เราทำแบบทดสอบต่างๆ
บุคคลอื่นก็สามารถที่จะคัดลอกได้อย่างง่ายดาย ฉันขอให้คะแนนรายวิชานี้ 98 คะแนน 2 คะแนนที่ขาดไปคือข้อเสียที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
และฉันคิดว่าฉันจะได้เกรด A ประจำรายวิชานี้ค่ะ